Cute Ghost
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อค กรกนก ค่ะ

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556




วันปีใหม่ไทย 

วันสงกรานต์


พอย่างเข้าเดือนเมษายนทีไร ทุกคนคงจะต้องนึกถึงวันวันหนึ่ง ซึ่งก็คือ “วันสงกรานต์” ซึ่งเป็นประเพณีไทยของคนไทยทุกภาค เอาละเรามาเริ่มทำความรู้จักกับวันสงกรานต์กันดีกว่า



สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีไทยในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนกระทั่งมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลของนานาประเทศเมื่อปี พ.ศ.2483 แต่แม้จะกำหนดวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงตามหลักสากลแล้ว สำหรับคนไทยเองก็ยังยึดเอาวันสงกรานต์เป็นวันที่มีความสำคัญอยู่


ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การก้าวขึ้น ย้ายขึ้น เคลื่อนย้าย ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13 14 15 เมษายน โดย
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หรือ “วันสังขารล่อง” ถือเป็นวันสงกรานต์ปี

วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันเนา” หรือ “วันเน่า” ซึ่งแปลว่า “อยู่” หมายถึงอีก 1 วันถัดจากวันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีใหม่เรียบร้อยแล้ว

วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช เรียกว่า “วันเถลิงศก” หรือ “วันพญาวัน” ซึ่งเป็นวันสำคัญวันแรกของปีใหม่

สำหรับประเพณีไทยสงกรานต์นั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นวันที่ลูกหลานจะกลับมาสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ และแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จึงถือเอาวันสงกรานต์เป็น ”วันครอบครัว” อีกหนึ่งวันด้วย


วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาเวสสันดรชาดก


กัณฑ์กุมาร


             เคราะห์ร้ายมาถึงและในคืนนั้นเอง พระนางมัทรีทรงสุบินร้ายว่า มีบุรุษผิวดำรูปร่างสูงใหญ่นุ่งผ้าย้อมฝาด สองหูทัดดอกไม้แดง มือถือดาบใหญ่ ตรงเข้าจิกพระเกศาแล้วแทงดาบใส่ดวงพระเนตร ควักดวงตาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นกรีดพระอุระควักเอาพระทัยไปทั้งดวง
พระนางร้องลั่นสะดุ้งตื่นบรรทมพระวรกายสั่นสะท้าน รีบไปหาพระเวสสันดรเพื่อจะให้ทำนายฝัน แต่เมื่อเข้าไปในอาศรมพระเวสสันดรก็ตรงตรัสว่า “น้องหญิงจงเล่าความอยู่ที่ข้างนอกเถิด” พระนางมัทรีทรงทูลเล่าพระสุบินนั้นพระทัยสั่น พระเวสสันดรทรงทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรุ่งเช้า แต่ทรงตรัสแก่พระนางว่าเป็นความตรากตรำลำบาก จึงทำให้เกิดธาตุวิปริต ดังนี้
เมื่อรุ่งเช้า พระนางมัทรีมีลางสังหรณ์ไม่ดี ไม่อยากเสด็จเข้าป่า จึงตรัสสั่งพระโอรสและธิดาให้อยู่ใกล้ ๆ เสด็จพ่อ ครั้นพระนางมัทรีไปแล้ว เฒ่าชูชกจึงรีบเข้าไปยังบริเวณอาศรมทันที 
เมื่อพระกุมารชาลีเข้าไปถามต้อนรับ ชูชกสังเกตรู้ว่าพระกุมารเป็นเด็กฉลาด จึงทรงร้องตวาดไล่ไปด้วยหวังจะข่มให้กลัวแล้วหนีไป จากนั้นเฒ่าชูชกก็เข้าเฝ้าพระเวสสันดร พยายามอ้างถึงความลำบากยากเข็ญนานาประการ ในการเดินทางฝ่าอันตรายมาถึงป่านี้ เพื่อขอปิยบุตรไปช่วยงานที่บ้าน เนื่องจากตนจนยากไม่มีเงินซื้อทาสได้ พระเวสสันดรทรงตรัสอนุญาต ชาลีกุมารแอบได้ยินจึงพาน้องสาวไปซ่อนที่ใต้ใบบัวข้างสระน้ำ เฒ่าชูชกเห็นเด็กทั้งสองหายไป ก็แกล้งติเตียนตัดพ้อพระเวสสันดรด้วยคำบริภาษว่า 
“ไหนล่ะที่พระองค์บริจาคทาน ปากยกให้แต่ไหนละเด็กร้ายทั้งสองคงจะคิดหนีไปแล้ว พระองค์มิได้มีจิตบริจาคทานตามที่ลั่นสัจจะไว้เลย” 
เมื่อสดับดังนั้น พระเวสสันดรจึงทรงเสด็จออกตามหาทั่วบริเวณชาลีราชกุมารมิอยากให้พระราชบิดาออกร้องเรียกนานไป จึงจูงน้องออกมา 
พระเวสสันดรขอให้กัณหา ชาลี ติดตามเฒ่าชูชกไปเถิด แต่ให้รอร่ำลาพระนางมัทรีก่อน เฒ่าชูชกไม่ยอมฟัง รีบหาเชือกเถาวัลย์มาผูกมัดพระโอรสพระธิดา แล้วเอาหวายเฆี่ยนตีต่อหน้าพระเวสสันดร พลางฉุดกระชากลากไปอย่างโหดเหี้ยม 
กัณหา ชาลี ถูกตีรุนแรงก็ร่ำไห้หาพระบิดาพระมารดา 
พระเวสสันดรทรงกันแสง แต่ก็ตั้งมั่นในสัจจะที่พระองค์ตั้งจิตไว้
ก่อนไปนั้น ชูชกกล่าวว่า ถ้าจะไถ่ตัวกันหาชาลีได้ต้องให้ ทาส ทาสี ช้าง ม้า โคนม ทองคำ สิ่งละ ๑๐๐ แก่ชูชก 
ครั้นเมื่อเฒ่าร้ายนำตัวพระกุมารและกุมารีไปแล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ดินฟ้าวิปโยคครืนครัน ฟ้าผ่าน่าสะพรึงกลัวไปทั่วป่าหิมพานต์

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้าเพื่อขอสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า “ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง” ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า “ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก”
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประณาม
๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ “ลูก”


profile

ประวัติส่วนตัว


นางสาวกรกนก อนันทศรี ม.4/5 เลขที่ 11
ชื่อเล่น ; มิว
อายุ16ปี เกิดวันอาทิคย์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2539
เรียนที่โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
♥♥